ผู้ประกอบการคือ ผู้ลงทุนจัดตั้งธุรกิจเพื่อหากำไร โดยยอมรับได้ว่าการเป็นผู้ประกอบการ มีความเสี่ยงที่จะขาดทุน และสามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วยตัวเอง การเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการอาจใช้เงินทุนของตัวเอง หรือจากแหล่งเงินทุนอื่นๆ มาประกอบธุรกิจ
9 ขั้นตอนของการเริ่มเป็นผู้ประกอบการ
1. ประเมินศักยภาพของตนเอง
ความจริงของการเป็นผู้ประกอบการ คือหากคุณต้องการความมั่นคงหรือรายได้ที่สม่ำเสมอ วันหยุด เวลาเข้างานที่แน่นอน การเป็นผู้ประกอบการอาจไม่เหมาะกับคุณ และคุณต้องตั้งคำถามเกี่ยวกับธุรกิจที่คุณเลือกว่า เหมาะกับความสามารถที่คุณมีแค่ไหน คุณเชี่ยวชาญแค่ไหน คุณรักในธุรกิจนั้นหรือเปล่า มีเงินทุนมากพอจะสามารถดำเนินธุรกิจได้กี่เดือน
สำหรับผู้เขียน มองว่า ธุรกิจที่คุณจะเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการต้องเป็นสิ่งที่คุณรัก เพราะคุณอาจเจออุปสรรคมากมาย ถ้าเป็นสิ่งที่คุณรัก หมกมุ่น คุณจะมีกำลังใจในการฝ่าฝันอุปสรรค
2. สรุปไอเดียการทำธุรกิจ หาไอเดียการเริ่มต้นทำธุรกิจ
- สำรวจตัวเอง ว่าคุณรัก หลงไหล หมกมุ่น กับอะไร เมื่อคุรต้องอยู่กับสิ่งนั้นตลอดเวลา คุณก็ไม่มีทางเบื่อ
- หาไอเดียทำธุรกิจ จากปัญหาที่คุณเจอ แน่นอน สิ่งต่างๆรอบตัวคุณ บริการหรือสินค้าที่คุณใช้มักจะไม่สมบูรณ์แบบ ปัญหาที่คุณเจออาจเป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่
- เดินทางไปต่างประเทศ ถ้าคุณมีทุนมากพอและยังมองหาไอเดียการทำธุรกิจไม่ได้ การเดินทางไปต่างประเทศ อาจทำให้คุณเห็นไอเดียแปลกใหม่ และพัฒนาเป็นธุรกิจได้ในอนาคต
3. วิเคราะห์ตลาด (Marketing Analysis) การวิเคราะห์การตลาดของนักการตลาด
- วิเคราะห์ภาพรวมของอุตสาหกรรม หาข้อมูลเกี่ยวกับสิถิติต่างๆของอุตสาหกรรมที่คุณสนใจทำธุรกิจ
- หาตลาดเป้าหมาย ลูกค้าคือใคร ขนาดของตลาดเป้าหมาย กำลังซื้อ
- วิเคราะห์คู่แข่ง
- หาจุดแข็ง จุดอ่อน ส่วนใหญ่ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า SWOT
4. หาข้อมูล จากผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ประกอบการมือใหม่ ควรต้องหาผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ทางด้านการทำธุรกิจ คอยให้คำปรึกษา เพราะการอ่านหรือการหาไอเดียจากแหล่งข้อมูลต่างๆอาจมีความน่าเชื่อถือ แต่การได้สอบถามจากผู้มีประสบการณ์ตรง จะตอบคำถามที่ผู้ประกอบการมือใหม่สงสัยได้ชัดเจนมากกว่า
5. สินค้าหรือบริการ ตัวอย่าง
เทคโนโลยีปัจจุบันอำนวนความสะดวกให้การสร้างสินค้าหรือบริการตัวอย่างได้ง่ายขึ้น เช่นการจ้างผลิตก่อนการลงทุนด้านเครื่องจักรต่างๆ
6. เขียนแผนธุรกิจ
การเขียนแผนธุรกิจทำให้ผู้ประกอบการเห็นภาพรวมของธุรกิจทั้งหมด แผนการเติบโต ความเป็นไป และยังช่วยให้สามารถนำเสนอไอเดียธุรกิจได้อย่างเป็นระบบระเบียบ และแผนธุรกิจที่ดียังสามารถนำไปขอทุนกับนักลงทุนหรือสินเชื่อกับธนาคารได้อีกด้วย
7. เงินลงทุนและแผนการเงิน
การเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ กระแสเงินสดเป็นเรื่องที่คุณต้องคำนึงถึงอย่างมาก คุณต้องวางแผนความเสี่ยงด้านการเงิน ว่าธุรกิจคุณต้องใช้เงินแต่ละเดือนเท่าไหร่ โดยทั่วไปควรมีเงินทุนสำหรับการเริ่มทำธุรกิจอย่างน้อย 6 เดือน
8. สร้างทีมงาน
หัวใจหลักของการเป็นผู้ประกอบการคือการหาทีมงานที่เหมาะสมกับธุรกิจคุณ คุณต้องมั่นใจว่าทีมงานมีความเชี่ยวชาญกับงานที่ได้รับมอบหมาย
9. จัดตั้งธุรกิจตามกฏหมาย
หากต้องการเป็นผู้ประกอบการทำการค้ากับคู่ค้า เพิ่มความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือ ทะเบียนการค้า ตามรูปแบบที่ต้องการ เพื่อประโยชน์ที่จะได้รับจากการขยายธุรกิจในอนาคต เป็นเรื่องจำเป็น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังกังวลเรื่องภาษีต่างๆ แต่หากผู้ประกอบการได้ศึกษาและวางแผนด้านการเงิน ภาษีมาอย่างดี การจัดตั้งธุรกิจตามกฏหมาย จะสร้างผลดีมากกว่าผลเสีย
แหล่งข้อมูล คำภีร์ผู้ประกอบการมือใหม่ ถ้าไม่รู้ อย่าทำธุรกิจ